Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้101
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้659
mod_vvisit_counterเดือนนี้3716
mod_vvisit_counterทังหมด3970499

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
**ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางภูมิใจเสนอเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดในการทำ LASIK เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุด"Femtosecond Laser(FS200)และSCHWIND AMARIS 750S EXCIMER LASER" เครื่องแรกในประเทศไทย ติดตั้งแล้วที่ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง สนใจติดต่อศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง โทร 0-2220-8000 ต่อ 11641 – 11642

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา

15 วิธีป้องกันหวัด2009(25พ.ค.52)

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดอย่างเต็มที่ โดยรัฐมนตรีสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่อาวุโสจากประเทศสมาชิกอาเซียน +3 ประกอบด้วย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น รวมทั้งผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก องค์การภายใต้องค์การสหประชาชาติ ได้แก่ UNSIC ,FAO,UNDP และศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) เดินทางมาร่วมประชุมด้วยตนเอง ยกเว้น พม่า ที่ยังไม่มีความชัดเจน เบื้องต้นได้แจ้งว่ามอบหมายให้เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยมาร่วมประชุมแทน  เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ที่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม โดยในการประชุมครั้งนี้ยังได้เห็นชอบข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ เกี่ยวกับแนวทางและมาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดชนิดนี้ด้วย
1.ให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจัดเตรียมแผนระดับชาติเพื่อควบคุม เฝ้าระวังการติดต่อระหว่างคนสู่คนและในสัตว์ โดยให้ซ้อมแผนรับมือไข้หวัดใหญ่ ตามที่ได้เตรียมมาตรการไว้ทันที

2.ให้แต่ละประเทศสนับสนุนการเฝ้าระวัง ควบคุมโรค ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 อย่างเข้มแข็งโดยเฉพาะระบบการเฝ้าระวังที่รวดเร็ว และตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้แต่ละประเทศจัดซ้อมแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลข่าวสารให้กับหน่วยงานประชากรภายในประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และสร้างผลกระทบทางสังคม
4.จัดระบบตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกนอกประเทศในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อ รวมทั้งตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศ และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อประเทศ ที่มีโรคระบาดโดยให้ใช้คำว่า "พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ" โดยในอนาคตจะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไป ของการกำหนดพื้นที่ติดเชื้อว่าจะต้องมีเกณฑ์และหลักการอย่างไร เช่น ใช้ชื่อเมืองแทน เพื่อลดผลกระทบท่องเที่ยวและการค้า
5.ให้แต่ละประเทศพิจารณาหามาตรการสนับสนุนเวชภัณฑ์ ยาระหว่างกันโดยให้ใช้คลังยาเพื่อสนับสนุนกันโดยตรง ซึ่งเบื้องต้นประเทศอาเซียนมีคลังยาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
6.แต่ละประเทศต้องพิจารณาเพิ่มการสำรองเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ โดยจัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัส ยาจำเป็น อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อจะทำให้ระบบการดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ดำเนินการตามหลักวิชาการขององค์การอนามัยโลก เรื่อง ข้อแนะนำการเดินทาง ไม่ให้เกิดอุปสรรค โดยไม่ใช้วิธีการปิดกั้นพรมแดน หรือห้ามการเดินทาง
8.สนับสนุนให้ทุกประเทศปฏิบัติตามกฎขององค์การอนามัย ข้อ 61.21 ที่ต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยา วัคซีน ในระดับภูมิภาค
9.ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน แบ่งเป็น 1.แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์ การระบาดระหว่างประเทศอย่างฉับพลัน โดยเปิดสายด่วน 2.จัดตั้งทีมสอบสวน ควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือระหว่างกันได้อย่างทันทีหากมีการร้องขอ 3.เสริมสร้างขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการ ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยอบรมและให้ความรู้ จัดประชุมวิชาการ 4.เสริมศักยภาพและความร่วมมือในภูมิภาคให้มากขึ้นจากเดิม ศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ทางด้านสารพันธุกรรม อาการป่วย ระบบการดูแลรักษาเพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ในการรับมือโรคระบาดใหม่ เช่นเดียวกับโครงการเฝ้าระวังโรคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการความร่วมมือวิจัยโรคติดเชื้อประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ระบบสาธารณสุข ที่ดูแลความปลอดภัยในภูมิภาคนี้ยั่งยืนเข้มแข็ง
10.ขอความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
11.เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การยกระดับความรุนแรงของโลก ในกรณีที่จะมีการยกระดับการระบาด ขอให้มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ประเทศสมาชิก และใช้เกณฑ์อื่นๆประกอบการพิจารณา นอกเหนือการหลักภูมิศาสตร์ เช่น ความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ของเชื้อ และจำนวนผู้ป่วย
12.มีข้อเสนอให้องค์การอนามัยโลก สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเชื้อไวรัส ทั้งไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
13.ขอให้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก สนับสนุนส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ เข้าถึงวัคซีน หากมีการคิดค้นได้ โดยต้องมีการหากลไกในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม
14.เชิญชวนให้องค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ สนับสนุนด้านงบประมาณ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสำรองคลังยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้คลังยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
15.ให้เลขาธิการอาเซียนดำเนินการซ้อมแผนรับมือการระบาดในประเทศสมาชิก ระดับภูมิภาคร่วมกัน
โดยข้อตกลงร่วมกันทั้ง 15 ข้อ แบ่งเป็น 3 หมวดหลัก คือ 1-6 มาตรการในส่วนของแต่ละประเทศที่จะต้องกลับไปดำเนินการ 7-10 มาตรการความร่วมมือในระดับภูมิภาค และ 11-15 เป็นข้อเสนอที่จะเสนอของประเทศอาเซียน ต่อที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 18-22 พฤษภาคมนี้

 

 

รู้จัก ไข้หวัดใหญ่2009

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : [email protected]

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา